ThaiPropertyToday

IRM เปลี่ยนแบบฟอร์มพนักงานใหม่

IRM เปลี่ยนแบบฟอร์มพนักงานใหม่

            นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM)  และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ร่วมถ่ายรูปกับผู้บริหารและพนักงานในโอกาสที่บริษัทได้เปลี่ยนแบบฟอร์มใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่ต้องการให้การทำงานบริการลูกค้ามีความคล่องตัว รวมทั้งสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้เกิดการจดจำในแบรนด์ และเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่มิติใหม่ในการบริหารทรัพย์สินปี 2563 ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า  25 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82   หรือ  www.irm.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่             บริษัท พีอาร์บูม จำกัด คุณอภิญญา โทร. 091-5493542 Email: prboomcompany@gmail.com

 ThaiPropertyToday

เตือนผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯ ตรวจสอบการจ่ายค่าส่วนกลางและเงินกองทุน

เตือนผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯ ตรวจสอบการจ่ายค่าส่วนกลางและเงินกองทุน

เตือนผู้อยู่อาศัยในคอนโดฯ ตรวจสอบการจ่ายค่าส่วนกลางและเงินกองทุน แนะศึกษากฎหมายห้องที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ใครเป็นผู้รับผิดชอบ   อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) เตือนผู้อยู่อาศัยในคอนโดนิเมียมตรวจสอบเรื่องการจ่ายค่าส่วนกลางและเงินกองทุน แนะศึกษากฎหมายประเด็นห้องที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ใครเป็นผู้รับผิดชอบ กรณีผู้จัดการนิติบุคคลเป็นคนของโครงการต้องรู้ว่า “ใครได้เปรียบและเสียเปรียบ”   นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM)  และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการคอนโดมิเนียมที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเรียบร้อยแล้วหมายความว่าต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่รายแรกเป็นต้นไป หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าห้องที่ยังขายไม่ได้ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบหรือมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง เช่น โครงการคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งมีห้องจำนวน 100 ยูนิต และได้โอนไปแล้วประมาณสัก 50 ยูนิต ส่วนที่เหลืออีก 50 ยูนิตเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการ ซึ่ง พ.ร.บ.อาคารชุดกำหนดไว้ว่าห้องที่ยังไม่โอนหรือยังขายไม่ได้ถือว่าเป็นเจ้าของร่วม นั่นหมายความว่าเจ้าของโครงการที่มีห้องเหลืออยู่และยังไม่โอน ต้องเป็นเจ้าของร่วมเช่นเดียวกับผู้อยู่อาศัยที่รับโอนไปแล้ว ดังนั้น จึงต้องรับผิดชอบเรื่องการจ่ายเงินค่าส่วนกลางเช่นเดียวกับเจ้าของร่วมรายอื่น ๆ ที่  ซึ่งจะมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือเงิน “กองทุน” ส่วนใหญ่แต่ละอาคารจะมีข้อบังคับกำหนดให้เก็บเป็น 10 เท่าของค่าส่วนกลาง เช่น ค่าส่วนกลาง […]